วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

TIMELINEชีวิต "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี"



ครูศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศิลป์ พีระศรี 
ชื่อเดิม:  คอร์ราโดเฟโร
เกิด:    ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี 

-พ.ศ.  ๒๔๔๒ เข้าเรียนระดับประถมศึกษา
-พ.ศ.  ๒๔๔๕ เข้าเรียนมัธยมศึกษา
-พ.ศ.  ๒๔๕o เข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ
-พ.ศ.๒๔๕๘ อายุ ๒๓ ปี จบรศึกษาได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน และสามารถสอบผ่าน  เป็นศาสตราจารย์ ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ โดยมีความสามารถทางด้านศิลปะ แขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
-พ.ศ.  ๒๔๖๑สมรสกับนางสาว Paola  Angelini ชาวอิตาเลียน  หลังจากนั้นสองปี  ทั้งคู่ก็แยกกันอยู่ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย
ในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖) มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการ เพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตก
-พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป รัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนายคอร์ราโด เฟโรจี ไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการ ท่านจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากรกระทรวงวัง
-พ.ศ.  ๒๔๖๘ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯให้ปั้นพระบรมรูป(เฉพาะพระเศียร)  ปั้นพระบรมรูปเหมือนสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  (เฉพาะพระเศียร)
-พ.ศ.๒๔๖๙ ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ
-พ.ศ.  ๒๔๗๑ ได้รับมอบหมายให้ออกแบบและปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  
-พ.ศ.  ๒๔๗๓ ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับไปพักผ่อนที่ประเทศอิตาลีเป็นเวลาสามเดือน  หลังจากหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เสร็จแล้ว
        ทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติ ผู้ที่มาอบรม ฝึกงานกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น เพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้น ช่างหล่อ ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะ จึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป
-พ.ศ. ๒๔๗๗ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น ในระยะเริ่มแรกชื่อ "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"
-พ.ศ.  ๒๔๘oได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับไปพักผ่อนที่อิตาลี  เป็นเวลาเก้าเดือน
-พ.ศ.๒๔๘๕ กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ในขณะนั้นจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะจึงยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น
-๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันทื่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัย เปิดสอนเพียง ๒ สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขา ประติมากรรม โดยมีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก
-พ.ศ. ๒๔๘๕ (สงครามโลกครั้งที่ ๒) ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมนีกับญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรชีไว้เอง และหลวงวิจิตรวาทการได้ทำเรื่องขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี"
-พ.ศ.๒๔๙๖ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ
-พ.ศ.๒๔๙๗ ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทย ไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรกที่กรุงเวนิช ประเทศอิตาลี
-พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๗ ได้หล่ออนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
-พ.ศ. ๒๔๘๔ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
-พ.ศ. ๒๔๘๕ หล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
-พ.ศ. ๒๔๙๓ หล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่
-พ.ศ. ๒๔๙๗ หล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี 
-พ.ศ.  ๒๕oo ได้รับมอบหมายให้ออกแบบและปั้น  พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์  ประดิษฐานที่พุทธมลฑล
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน
-พ.ศ.  ๒๕o๒ จดทะเบียนสมรสกับ  นางสาวมาลินี  เคนนี
-พ.ศ.๒๕o๓ การประชุมใหญ่ครั้งที่ ๓ ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความศิลปะชื่อศิลปะร่วมสมัยใน ประเทศไทยไปเผยแพร่ ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้น และนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินต่างประเทศขึ้น
-ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อคืนวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕o๕ รวมสิริอายุได้ ๖๙ ปี ๗ เดือน ๒๙ วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น ๓๘ ปี ๔ เดือน
-พ.ศ.  ๒๕o๖ วันที่  ๑๗  มกราคม  พระราชทานเพลิงศพ    เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส  กรุงเทพมหานคร  ...
อาคารทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจะปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์
"ถ้าคิดถึงฉันจงไปเขียนรูป ทำงานศิลปะ แล้วฉันจะได้สบายใจ" ถ้อยคำสุดท้ายของอาจารย์ศิลป์ผู้เป็นที่รักยิ่งได้มอบให้บรรดาลูกศิษย์ ก่อนจะเสียชีวิตไม่นาน
"ข้าพเจ้าได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ เพราะข้าพเจ้าได้อุทิศชีวิตของข้าพเจ้าให้แก่บางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์ เพียงในฐานะผู้รับใช้ศิลปะที่ต่ำต้อย" (ศิลป์ พีระศรี)


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็ไม่ได้มีผลงานทางด้านศิลปะเพียงอย่างเดียวที่กลายเป็นที่จดจำของเหล่าลูกศิษย์ เพราะมีหลาย ๆ ครั้งที่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จะหยิบยกคำสอนมาคอยเตือนใจลูกศิษย์ของ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศิลป์ พีระศรี ลูกศิษย์คำสอนของศิลป์ พีระศรี
"อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก ฉันเองก็ยังศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา"
"ฉันนับถือศาสนาศิลปะ เผยแพร่สอนศิลปะ ศิลปินอดข้าว เขาไม่ตาย แต่ถ้าห้ามเขาไม่ให้ทำงานศิลปะ เขาต้องตาย เขาอยู่ไม่ได้"
"นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร"
“พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว”           

"ถ้าคิดถึงฉันจงไปเขียนรูป ทำงานศิลปะ แล้วฉันจะได้สบายใจ"
"ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"
“พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…แล้วจึงเรียนศิลปะ
ทุกคนมีความงาม นายต้องค้นให้พบ…แม้แต่คนที่ขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด ก็อาจจะมีความงามที่แอบซ่อนอยู่ อาจจะเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือฟัน หรือแม้แต่จิตใจที่งดงามก็ตาม นายต้องค้นให้พบ…”
นายคนภูเขา ดูสิ เขาว่าฉันเป็นฝรั่ง แต่ข้างในฉันมีเลือดแดงเหมือนทุกคน ฉันเป็นมนุษย์นะนาย ฉันเป็นคน คนที่รักเมืองไทย ศิลปวัฒนธรรมของนายด้วย”
...........................................................................................................................................เจลดา..........................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น