วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

"จินดามณี" แบบเรียนเล่มแรกของไทย



จินดามณี
การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
        การเรียนการสอนภาษาไทยยังคงมีลักษณะแบบเดียวกับสุโขทัย คือ ศูนย์กลางการเรียนการสอนคือ วัด พระภิกษุจะเป็นผู้สอนเยาวชนทั่วๆ สำนักเรียนเดิมมีสำนักเรียนวัดและสำนักราชบัณฑิตแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เพิ่มสำนักเรียนของหมอสอนศาสนาเข้ามา
1. สำนักราชบัณฑิต สอนหนังสือให้แก่เจ้าขุนมูลนายและลูกหลาน
2. สำนักเรียนวัด สอนหนังสือแก่กุลบุตร กุลธิดาของขุนนางชั้นรองๆลงมา และประชาชนทั่วไป
3. สำนักเรียนของหมอสอนศาสนา สอนคริสตศาสนาแก่ประชาชนทั่วไป

ความเป็นมาของ จินดามณี แบบเรียนเล่มแรกของไทย

แบบเรียนจินดามณีได้ถูกประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา (สมัยของพระนารายณ์มหาราช) ชาติตะวันตก(ฝรั่งเศส)ได้เริ่มเข้ามาทำารค้าขายกับไทยซึ่งชาวตะวันตกบางกลุ่มได้นำเอาความเชื่อเรื่องศาสนาคริสต์เข้ามาและมีเจตนาจะเผยแพร่พระคริสธรรมจึงมีการจัดตั้งสำนักสอนพระคริสธรรมขึ้นโดยบรรดาบาทหลวงที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักสำคัญๆในยุโรป ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนที่สอนศาสนาควบคู่กับภาษาไปด้วย
เมื่อการสอนศาสนาโดยสำนักเรียนของหมอสอนศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้นด้วยเกรงว่าเยาวชนไทยจะโอนเอนไปตามคำสอนจนลืมอัตลักษณ์ความเป็นไทยและจะเป็นการเสียเปรียบชาติตะวันตกจึงได้มีการจัดทำแบบเรียนที่มีมาตรฐานแก่เยาวชนไทยขึ้นเป็นที่มาของหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย จินดามณี ซึ่งพระนารายณ์มหาราชจึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งขึ้นนั้นเอง

จินดามณี ชื่อนี้ได้แต่ใดมา 
ชื่อหนังสือพบว่ามีหลายแบบ แตกต่างก็ตรงคำด้านหลัง ที่ว่า มณี มนี มุณี หรือ มุนี แต่ก็ยังหาข้อสรุปยืนยันไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วชื่อของหนังสือแบบเรียนเล่มนี้คืออะไร เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการตีพิมพ์จึงต้องใช้วิธีคัดลอกด้วยมือเท่านั้น จึงทำให้อาจมีการผิดพลาดตกหล่นของชื่อเรื่อง
คำว่าจินดามณีนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์อื่นๆ เช่น ในชาดกเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงนางยักษินรผู้บอกวิชา จินดามณี ให้แก่ลูกชายของตน เพื่อเอาไว้เป็นเครื่องมือเอาตัวรอดเพราะลูกชายต้องมาอาศัยร่วมกับมนุษย์

พบในคาถา จินดามนต์ ที่ว่า
จินดามะณี ปันนามะกะปา
จินดาตะวะ ทัตตะวาโน
จินติตะยา หิตะเมจะ ปัตโตติ
เนื้อและปลาตัวใดที่ชะตาถึงฆาต จงมาหาข้า ณ บัดนี้ เป็นมนต์จินดามณีเรียกเนื้อเรียกปลาที่ชะตาขาดและจะต้องตายในวันนั้นให้มารวมกัน (นเรศวรพระเครื่อง.  2016: ออนไลน์)

ใน สำหรับร่ายเรียกเนื้อเรียกปลา ที่ว่า
"อันรูปเงาะไม้เท้าเกือกแก้ว       แม่ประสิทธิ์ให้แล้วดังปรารถนา
ยังมนต์บทหนึ่งของมารดา                   ชื่อว่ามหาจินดามนต์
ถึงจะเรียกเต่าปลามัจฉาชาติ                ฝูงสัตว์จัตุบาทในไพรสณฑ์
ครุฑาเทวัญชั้นบน                            อ่านมนต์ขึ้นแล้วก็มาพลัน"

และยังพบว่า มีการกล่าวถึงจินดามณีในหนังสือ ประถม ก.กา และ ประถมมาลา ด้วย
ในประถมาลามีคำกล่าวเกี่ยวกับ จินดามณีว่า ถ้าใครใคร่รู้ ให้ดูสารา เพียรยลค้นหา จินดมะณี

ในจินดามณีคัดมากจากฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (จินดามณีเล่ม2) มีคำกล่าวเกี่ยวกับ จินดามณีว่า สลามไม้ม้วนไม้มลาย แถลงลักษณ์ธิบาย ไวแจ้งในจินดามณี
         
ในหนังสือนิตยสารของพระยาศรีสุนทรโวหารซึ่งพิมพ์ในรัชกาลท่5 มีการกล่าวถึงจินดามณีว่า
ท่านไขคำจำให้แน่อย่าแชเชือน            แล้วจึงเลื่อนเล่าคำไม้มลาย
ของโบราณขานบทไว้หมดสิ้น                        ในแบบจินดามณีก็มีหลาย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี่ จึงทำให้เชื่อถือได้ว่า ชื่อที่ถูกต้องน่าจะเป็น จินดามณี หมายถึงแก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึกหรือแก้วสารพัดนึกซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ถ้าใครมีอยู่นึกอะไรจะสำเร็จตามใจนึก ผู้แต่งหนังสือจินดามณีน่าจะตั้งใจให้หนังสือเล่มนี้มีความหมายว่า ถ้าผู้ใดเรียนได้ตามหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็จะรู้แตกฉานในอักษรศาสตร์ของไทยได้เหมือนหนึ่งมีแก้วสารพัดนึก (กระทรวงศึกษาธิการ.  2016: ออนไลน์) มีโคลงบทหนึ่งท้ายแบบเรียนนั่นได้บอกความไว้ชัดเจนว่า

ลิขิตวิจิตรสร้อย          ศุภอรรถ
 ด่งงมณีจินดารัตน์                  เลอศแล้ว
 อันมีศิริสวัสดิ์                       โสภาคย์
 ใครรู้คือได้แก้ว                     ค่าแท้ควรเมือง ฯ

ก่อนหน้าจะมีจินดามณีความรู้เรื่องภาษาของคนไทย การเขียนตัวอักษรต่างๆคลาดเคลื่อนมาก แต่จินดามณีได้ทำให้มีผู้รู้หนังสือไทยมาขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับจนสามารถแต่งกลอน เล่นเพลงยาว ฯลฯ สืบต่อเรื่อยมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นับว่าจินดามณีเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูวรรณกรรมไทย


วิวัฒนาการของจินดามณี


จินดามณีที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) คือ จินดามณีฉบับพระโหราธิบดี(จินดามณีเล่ม1) โดยตำแหน่งพระโหราธิบดีนั้นมีหน้าที่สอนหนังสือและศิลปวิทยาการแก่เจ้านาย จึงได้เอาความรู้ดังกล่าวนำมารวบรวมเรียบเรียงเป็นหนังสือสอนภาษาแก่เยาวชน ต่อมาได้ใช้แพร่หลายมาถึงสมัยกรุงรัสสินทร์ตอนต้น(ร.1-ร.4)  แม้ในสมัยรัตนโกสินทร์จะปรากฏหนังสือแบบเรียนอีกหลายเล่ม เช่น จินดามณีฉบับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ, ประถม ก.กา, ประถมมาลา ฯลฯ แต่ก็ยังคงใช้จินดามณีเป็นหลักในการสอนเด็กที่เริ่มหัดอ่าน


จินดามณีที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ จินดามณีฉบับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่ทราบผู้แต่ง
 เนื้อหามีความแตกต่างจากจินดามณีฉบับพระโหราธิบดีมาก เพราะเห็นว่าการเรียนการสอนโดยใช้จินดามณีเล่มเดียวนั้นมักจะเกิดข้อสงสัยและผู้สอน้องนำแบบฝึกหัดจากที่อื่นมาประกบการสอนเสมอจึงทำให้เห็นว่าการประพันธ์ของพระโหราธิบดีนั้นรวบรัดเกินไป ผู้แต่งจึงตั้งใจแต่งหนังสือเพื่อเป็นหนังสือเสริมของจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี โดยใช้ชื่อ จินดามณี เช่นกัน
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการอธิบายถึงอักขรวิธี การผันเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งอธิบายขยายจากจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ได้อธิบายการอ่านและเขีนแต่เน้นไปที่การอ่านมากกว่า และเหมาะจะเป็นคู่มือในการสอนของครู หรือ คนที่ต้องการศึกษาหาวามรู้เพิ่มเติมมากกว่าเป็นหนังสือสอนเด็กที่เริ่มหัดอ่าน
การเรียบเรียงก็ไม่เหมือนแบบของวรรณกรรมไทยคือไม่มีบทไหว้ครูหรือการเกริ่นจุดประสงค์ใดๆเป็นลักษณะการเรียบเรียงของบทความวิชาการมากกว่า
ในขณะที่จินดามณีฉบับพระโหราธิบดี และ จินดามณีฉบับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศใช้ในการเรียนการสอนระหว่างร.1-ร.4 ก็ได้มปรากฏหนังสือแบบเรียนอื่นๆเพิ่มเข้ามาอีก คือ ประถมก.กาและประถม ก.กา หัดอ่าน, สุบินทกุมาร, ประถมมาลา และ จินดามณีคัดมากจากฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (จินดามณีเล่ม2)

โดยเวลาเรียนจะต้องเรียนเป็นลำดับขึ้นเริ่มจาก ประถมก.กาและประถม ก.กา หัดอ่าน, สุบินทกุมาร, ประถมมาลา, จินดามณีฉบับพระโหราธิบดี(จินดามณีเล่ม1) และ จินดามณีคัดมากจากฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (จินดามณีเล่ม2


จินดามณีฉบับหมอบรัดเล หรือ จินดามณีฉบับสำรวมใหญ่ เป็นหนังสือแบบเรียนโดย ดอกเตอร์ แดน บีช บรัดเล (Dan Beach Bradley) โดยได้รวบรวมแบบเรียน ตำราเรียนเก่าๆหลายเล่มมาพิมพ์ไว้ด้วยกันและสอดแทรกเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย คือ

-ประถม ก.กา แจกลูกอักษรเพื่อให้เด็กรู้จักอักษรไทย และ
การประสมอักษร
-จินดามณีฉบับพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
(จินดามณีเล่ม2) เฉพาะการประพันธ์โคลง
-ประถมมาลา เป็นแบบเรียนสำหรับเด็กหัดอ่านนำมาพิมพ์ทุกตอน
                                       -ปทานุกรม คัดจากหนังสือของพระศรีสุนทรโวหาร เฉพาะเรื่องราชาศัพท์
การจัดพิมพ์จินดามณีของหมอบรัดเลนั้นแสดงถึงความต้องการให้แบบเรียนเล่มนี่เป็นตำราเรียนภาษาไทยของชาวต่างประเทศมากกว่าให้คนไทยอ่าน จึงมีการรวบรวมแบบเรียนไทยและแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นตำราเรียนภาษาไทยของชาวต่างประเทศ การจัดรูปแบบก็เป็นการจัดแบบตามแต่หมอบรัดเลเห็นสมควร และมีการนำเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษมาใช้ โดยต่อมาโรงพิมพ์พานิชศุภผลได้นำมาพิมพ์จำหน่ายอีกครั้ง
 
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่5มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่แบบการเรียนการสอนเองก็เปลี่ยนมาเป็น แบบเรียนหลวง โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จำนวน6เล่ม คือ
1. มูลบทบรรพกิจ (เป็นการสอนเขียนสอนอ่านเบื้องต้นเริ่มจากพยัญชนะ) เหมือนหนังสือประถมก.กา ประถมมาลา หรือ จินดามณี แต่มีวิธีการเรียบเรียงใหม่ให้ไม่ซ้ำซากจำเจ โดยนำเนื้อหาในเรื่อง กาพย์พระไชยสุริยามาเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ
2. วาหนิติ์นิกร (เป็นเรื่องอักษรนำ)
3. อักษรประโยค (เป็นเรื่องว่าด้วยการควบกล้ำ)
4. สังโยคพิธาน (เป็นการประมวลคำที่ใช้ในมาตรา แม่ กน กก กด กบ)
5. ไวพจน์พิจารณ์ (คำพ้องรูป พ้องเสียง)
6. พิศาลการันต์ (เป็นเรื่องตัวการันต์ต่างๆ)
                                                                                                                    เจลดา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น