วรรณกรรมเปรียบเหมือนกระจกเงาสะท้อนสภาพสังคม
ประเพณี วัฒนธรรมในยุคสมัยต่างๆ ทั้งยังบ่งบอกค่านิยม
แนวคิดที่ผู้แต่งอยากจะให้คนในยุคนั้นๆปฏิบัติตามตลอดจนปัญหาต่างๆที่คนในสังคม
เพราะเบื้องหลังวรรณกรรมก็คือผู้แต่งและเบี้องหลังผู้แต่งก็คือสภาพสังคมที่ผู้แต่งพบเจอจริงๆ
ดังนั้นหากดิฉันจะสืบหาเรื่องภาพลักษณ์ของหญิงไทยในอดีตวรรณกรรมไทยจึงเป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมที่จะสะท้อนว่าภาพลักษณ์และมุมมองของหญิงไทยในอดีตกับปัจจุบันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
โดยดิฉันสนใจจะสืบหาภาพลักษณ์ของหญิงไทยผ่านวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน
เปรียบเทียบความเปลื่ยนแปลงทางความคิดที่มีต้องหญิงไทยด้วยการเปรียบเทียบสุภาษิตสอนหญิงที่แต่งโดยสุนทรภู่ กับ หญิงดี สุภาษิตสอนหญิง(ร่วมสมัย) โดยกรวลี วรัณกร และ ใบไม้ที่หายไป
โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา
ขุนช้างขุนแผน เป็นวรรณคดีประเภทกลอนเสภา โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯให้กวีในรัชสมัยของพระองค์รวมถึงตัวพระองค์เองร่วมกันแต่งขี้นซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ถือว่าครบรส ทั้งความรัก ความตลกขบขัน ความโกรธ ความกล้าหาญ
ความกลัว ความชั่วและความพิศวง อันเป็นลักษณะของปุถุชนคนธรรมดาจึงทำให้ขุนช้างขุนแผนเป็นที่นิยมนั่นเอง
ขุนช้างขุนแผนได้สะท้อนภาพสังคมประเพณีและวัฒนธรรมของไทยในสมัยอยุธยา
ค่านิยม วิถีชีวิตตั้งแต่เด็กสู่ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งในวัด ในวัง และชีวิตชาวบ้านธรรมดา
การแต่งกาย เรื่องการบ้านการเรือนของลูกผู้หญิง การศึกษาเล่าเรียนของลูกผู้ชาย
ประเพณีต่างๆที่ต้องทำตั้งแต่เกิดจนตายตลอดจนความเชื่อและไสยศาสตร์ทั้งยังสะท้อนเรื่องความซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ระบบศักดินาที่ใช้ในการปกครอง
และการตัดสินคดีความในสมัยก่อนไม่มีตัวบทกฎหมายการตัดสินคดีความจึงต้องอาศัยพระมหากษัตริย์คอยตัดสิน
เช่นคดีของนางวันทองนั้นเอง
นางพิมหรือที่ทุกคนคุ้นชื่อว่า
นางวันทองสองใจ แท้จริงแล้วก็เป็นคนรักนวสงวนตัวพอควร ดังข้อความต่อไปนี้ เป็นตอนที่สายทองพยายามพูดเกลี้ยกล่อมให้นางวันทองรีบหาคู่ครองแต่นางไม่คล้อยตามและตอบกลับไปว่า
“จะรีบร้อนมีคู่ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ
เพราะใช่ว่าพิมรูปชั่วขี้ริ้วขี้เหร่ ไร้ผู้ชายหมายปองยิ่งรูปสวยรวยทรัพย์ยิ่งมีคนรุมล้อม
ฉะนั้น อดเปรี้ยวไว้กินหวานดีกว่า
เรื่องอะไรจะชิงสุกก่อนห่าม...เป็นผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
ห้ามสายทองพูดกวนใจให้รีบร้อนมีคู่ครองอีก”
(เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, หน้า32)
แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงควรจะรักนวลสงวนตัวและไม่ต้องรีบร้อน
นางวันทองมีทศนติที่ดีเกี่ยวกับการวางตัวแต่ก็ไม่วายตกเป็นเมียพลายแก้วหรือขุนแผนแต่ถึงกระนั้นนางก็รักขุนแผนด้วยใจจริงและจะมีขุนแผนเพียงคนเดียว แต่ฝ่ายขุนแผนกลับไม่ได้มีนางวันทองแค่คนเดียว
ครั้งเมื่อขุนแผนตีทัพเชียงใหม่
ชาวบ้านถูกไล่ตีกันวุ่นวาย เว้นแต่บ้านของนายจอมทองที่อยู่ปลอดภัยเพราะขุนแผนสั่งทหารไม่ให้ทำอันตรายบ้านนี้ด้วยเทวดาดลใจ
หลังศึกสงบนายจอมทองก็เห็นว่าควรยกนางลาวทองผู้เป็นลูกสาวให้เป็นเมียของขุนแผน
นางลาวทองได้ฟังก็ร้องไห้วอ้อนวอนไม่อยากถูกพ่อขับไล่ไสส่งนางให้ไปเป็ยเมียขุนแผน
ทั้งยังหาเหตุผลบอกว่า ตนอยากอยู่ดูแลพ่อแม่ ไม่อยากไปอยู่ไหนไกล อีกทั้งผู้เป็นสามีจะเลี้ยงดูฟูมฟักตนเหมือนอย่างที่พ่อแม่เลี้ยงมาหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้
เพราะเป็นคนอื่น ไหนเลยเขาจะเมตตา นอกจากนี้พลายแก้วอาจจะมีเมียอยู่แล้วจะทำให้มีเรื่องหึงหวงให้เดือนร้อนใจได้แต่สุดท้ายนายจอมทองก็ยกนางลาวทองให้เป็นเมียของขุนแผนอยู่ดี
...และก็เกิดเรื่องหึงหวงทะเลาะระหว่างนางวันทองและนางลาวทองจริงตามคาด
วันทองหึงหวงลาวทองกับขุนแผนจนพลั้งปากพูดตัดสัมพันธ์ทำให้ขุนแผนโกรธมากต่อว่านางวันทองว่าพูดจาไม่เกรงใจสามีและหยิบดาปขึ้นคิดจะฆ่าวันทองเสียให้ตายวันทองเสียใจมากและหนีมา
นางคิดว่าเมื่อเหตุการณ์เป็นมันอย่างนี้แล้ว
ตนคงไม่พ้นต้องเป็นเมียขุนช้างและต้องกลายเป็นหญิงสองผัว มีแต่จะอับอายขายหน้าไป
ทางด้านนางศรีประจันผู้เป็นแม่ซึ่งตั้งจะยกนางวันทองให้ขุนช้างอยู่แล้วก็ซ้ำเติมบอกว่า
“ถ้าไม่เชื่อฟังแม่ ไม่ยอมเป็นเมียขุนช้าง ก็อย่าอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน” (เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน,
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, หน้า92)
สุดท้ายนางวันทองก็จำต้องตกเป็นเมียขุนช้าง
นางวันทองคลอดลูกชายชื่อพลายแก้วซึ่งเป็นลูกของขุนแผน
หลังจากนั้นชีวิตของวันทองก็ไม่ได้สงบสุขเพราะชายทั้งสามต่างยื้อแย่งตัวเธอประหนึ่งเธอเป็นสิ่งของจนสุดท้ายเรื่องก็ไปถึงพระพันวษาผู้ปกครองเมือง พระพันวษาทรงมีพระดำริว่า
“มันเกิดเหตุทั้งนี้ก็เพราะหญิง จึงหึงหวงช่วงชิงยุ่งยิ่งอยู่
จำจะตัดรากใหญ่ให้พรั่นพรู ให้ลูกดอกดกอยู่กิ่งเดียว
อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู้สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้”
(เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, หน้า236)
กลายเป็นว่าผู้ที่ผิดคือนางวันทอง จริงๆนางมีใจให้เพียงขุนแผนแต่เพราะขุนช้างก็หมายปองนาง
การมีชายสองคนมารุมยื้อแย่ง คนที่เสียหายกลับเป็นตัวนางวันทองเอง
จากนั้นก็ทรงให้นางวันทองเลือกว่าจะไปอยู่กับใครซึ่งวันทองไม่สามารถเลือกได้เนื่องจากขุนแผนนางก็รักตั้งแต่ไหนแต่ไร
ส่วนขุนช้างแม้นางจะไม่ได้รักแต่ขุนช้างดีกับนางมากคำน้อยก็ไม่เคยกล่าวว่าให้เสียน้ำใจ พลายแก้วหรือจมื่นไวยเองก็เป็นลูกในไส้
เมื่อไม่สามารถตัดสินใจได้พระพันวษาก็โกรธมากด่าทอนางวันทองว่า
“...
ว่าหญิงชั่วผัวคราวละคนเดียว หาได้ตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ใย อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา
กูเลี้ยงมึงถึงให้เป็นหัวหมื่น คนอื่นรู้ว่าแม่ก็ขายหน้า
อ้ายขุนช้างขุนแผนทั้งสองรา กูจะหาเมียให้อย่าอาลัย
หญิงกาลกิณีอีแพศยา มันไม่น่าเชยชิดพิสมัย
ที่รูปสวยรวยสมมีถมไป มึงตัดใจเสียเถิดอีคนนี้”
(เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, หน้า237-238)
และสุดท้ายนางวันทองก็ถูกตัดสินประหาร
จากข้อความนี้ดิฉันไม่เห็นด้วยเลยว่าความผิดของนางวันทองจะร้ายแรงถึงขั้นต้องด่าทอต่อว่าขนาดนี้
และไม่สมควรโดนประหาร
ยังมีคำตรัสของพระพันวษาอีกว่า
”อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิติดดินกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่”
(เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, หน้า238)
มันทำให้รู้ว่าผู้หญิในสมัยนั้นต้องระวังตัวมากแค่ไหน
เป็นภรรยาเขาถ้าทำดีก็เสมอตัวเพราะความดีหาได้เป็นเครื่องการันตีว่าสามีจะรักตัวเพียงผู้เดียว
แต่ถ้าทำชั่วก็ตัวตาย...
สำหรับนางวันทองที่ดิฉันเห็นว่าความผิดข้อเดียวของนางคือเป็นคนโลเล
ไม่ตัดสินใจก็เท่านั้นไม่ใช่หญิงหลายใจอย่างที่โดนกล่าวหา นางมีผู้ชายที่รักนางถึงสามคน
แต่นางกลับต้องมาเดือดร้อนและตายไปพร้อมราคีติดตัวโดยที่ชายทั้งสามไม่สามารถช่วยอะไรนางได้เลย
...การที่พระพันวษาบอกว่าจะหาเมียให้ขุนแผนและขุนช้างนั้นอย่าได้เสียใจไปนั้น
ก็หมายความว่าคนสมัยก่อนอาจไม่ได้มองว่าการเป็นสามีภรรยาต้องมาจากความรัก
เพียงแต่หาคนที่เหมาะสม เห็นว่าดีว่าคู่ควรเป็นภรรยาที่อยู่ในโอวาสสามี หรือเป็นรางวัลเพียงเท่านั้น
บทเสภา ขุนช้างขุนแผน
ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ๒ ลักษณะ คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก และความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา
สมัยนั้นผู้หญิงเปรียบเหมือนสมบัติชิ้นหนึ่งกล่าวคือ ผู้หญิงเป็นสมบัติของพ่อแม่เมื่อยังไม่แต่งงาน
ถือว่าพ่อแม่เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะกำหนดชะตาชีวิตลูกของตน เหมือนนายจอมทองที่ยกนางลาวทองให้ขุนแผน
นางศรีประจันที่ยกนางวันทองให้ขุนช้าง หรือพระยาสุทัยที่ขายลูกสาวนางแก้วกิริยาให้ขุนช้าง
ครั้นเมื่อแต่งงานแล้วภรรยาก็กลายเป็นสมบัติของสามี และสามีจะมีภรรยากี่คนก็ได้
ชายที่มีภรรยาหลายคนถือเป็นเรื่องธรรมดา หน้ำซ้ำยังถูกมองว่าเก่ง มีเสน่ห์ ขุนแผนเองมีทั้งนางวันทอง นางสายทอง นางลาวทอง
นางแก้วกิริยา และนางบัวคลี่ หรือตอนที่พระพันวษาพระราชทานสร้อยฟ้าให้จมื่นไวยทั้งๆที่จมื่นไวยมีภรรยาแล้วคือศรีมาลา
ผู้หญิงจึงไม่ต่างจากสิ่งของที่ถูกมอบไปมา
ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัวรักษาพรหมจารีย์ให้กับชายคนเดียวที่จะมาแต่งงานกับเรา
หลังแต่งงานไปแล้วก็ต้องซื่อสัตย์มอบรักเดียวให้สามีเท่านั้น หากเป็นหญิงหลายใจมีหลายผัวจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี
ซึ่งดิฉันเห็นว่าไม่ยุติธรรม
ไม่ได้หมายความว่าอยากให้ผู้หญิงมีสามีได้หลายคนเทียบเท่าชายแต่ผู้หญิงถูกริดรอนสิทธิ์มามากแล้วทั้งการศึกษา
การงาน แทบจะเรียกได้ว่ามีข้อกำหนดทั้งชีวิตให้ด้อยกว่าชาย
เพียงแค่เรื่องความรักขอให้เสมอกัน แบบผัวเดียวเมียเดียวจะไม่ได้เลยหรือ...
สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย โดย กรวลี วรัณกร มีโครงมาจากสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่แต่มีการปรับเปลี่ยนบางคำให้เข้าใจง่ายขึ้น บ้างก็แต่งใหม่แต่คงความหมายเดิม
สิ่งที่สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยต่างจากของสุนทรภู่คือสุภาษิตสอนหญิงโดยสุนทรภู่จะมีการสอนกิริยาหญิงที่ละเอียดมากกว่า เช่นของสุนทรภู่ จะมีสอนการแต่งตัวแต่งหน้า ต้องแต่งแต่พอควรไม่เยอะเกิน การเก็บรวบผมให้รับใบหน้า ห้ามเสยผม อย่านุ่งผ้าใต้สะดือคือจะแต่งกายอะไรก็แต่งให้เป็นไปอย่างถูกต้องเพราะสมัยนั้นจะนุ่งผ้าเลยสะดือขึ้นไป (อ่านแล้วทำให้นึกถึงเด็กรุ่นใหม่ที่แม้แต่ชุดนักเรียนก็ไม่สามารถแต่งให้ถูกกฏระเบียบได้) มีแม้กระทั่งการเดิน
อาจเป็นเพราะสมัยนั้นผู้หญิงยังต้องพึ่งพาผู้ชายดังนั้นอำนาจทั้งหมดจึงตกเป็นของฝ่ายชาย
และกวีสมัยนั้นก็เป็นผู้ชายซะส่วนใหญ่ก็อาจจะแต่งเรื่องที่เข้าข้างผู้ชายด้วยกันก็เป็นได้
สุภาษิตสอนหญิง นับได้ว่าเป็นบทประพันธ์ชิ้นเอกของสุนทรภู่
เนื้อหากล่าวสอนหญิงเกี่ยวกับการรักในศักดิ์ศรี กิริยามารยาท การดูแลตัวเองการแต่งกาย
การวางตัวเลือกคู่ครอง การปรนนิบัติสามีดูแลบ้าน
ครอบคลุมตั้งแต่หญิงวันรุ่นไปจนถึงวัยครองเรือน
สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย โดย กรวลี วรัณกร มีโครงมาจากสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่แต่มีการปรับเปลี่ยนบางคำให้เข้าใจง่ายขึ้น บ้างก็แต่งใหม่แต่คงความหมายเดิม
สิ่งที่สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยต่างจากของสุนทรภู่คือสุภาษิตสอนหญิงโดยสุนทรภู่จะมีการสอนกิริยาหญิงที่ละเอียดมากกว่า เช่นของสุนทรภู่ จะมีสอนการแต่งตัวแต่งหน้า ต้องแต่งแต่พอควรไม่เยอะเกิน การเก็บรวบผมให้รับใบหน้า ห้ามเสยผม อย่านุ่งผ้าใต้สะดือคือจะแต่งกายอะไรก็แต่งให้เป็นไปอย่างถูกต้องเพราะสมัยนั้นจะนุ่งผ้าเลยสะดือขึ้นไป (อ่านแล้วทำให้นึกถึงเด็กรุ่นใหม่ที่แม้แต่ชุดนักเรียนก็ไม่สามารถแต่งให้ถูกกฏระเบียบได้) มีแม้กระทั่งการเดิน
“ประการหนึ่งซึ่งจะเดินดำเนินนาด
ค่อยเยื้องยาตรยกย่างกลางสนาม
อย่าไกวแขนสุดแขนเขาห้ามปราม
เสงี่ยมงามสงวนไว้แต่ในที”
(สุภาษิตสอนหญิง
สุนทรภู่, เอกรัตน์ อุดมพร, หน้า20)
คืออย่าเดินแข็งกระด้าง
ไม่ควรก้าวพรวดๆไม่ไกวแขนไปมาแบบสุดแขนควรเดินด้วยอาการสงบเสงี่ยม
ในสุภาษิตสอนหญิของสุนทภู่
มีบทที่แฝงว่าผู้หญิงต้องพึงพาเพศชายดังในข้อความที่ว่า
เป็นสตรีสุดดีแต่เพียงผัว
จะดีชั่วก็แต่ยังกำลังสาว
ลงจนสองสามจือไม่ยืดยาว
จะกลับหลังอย่าสาวสิเต็มตรง
(สุภาษิตสอนหญิง
สุนทรภู่, เอกรัตน์ อุดมพร, หน้า55)
การมีคู่ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเพศที่อ่อนแออย่างเพศหญิง
จึงถือกันว่าการมีสามีดีเป็นที่พึ่งเป็นเรื่องดีของผู้หญิง
ผู้ญิงเองก็ต้องรักนวลสงวนตัวและดูแลตัวเองให้สาวสวยอยู่เสมอ
ในสุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยนั้นจะมีบที่สอนให้ผู้หญิงยืนหยัดด้วยตัวเองอย่างเห็นได้ชัด
ตัวอย่างเช่น
มาสร้างภาพพจนใหม่
ให้หญิงไทมีคุณค่า
ชีวิตหญิงนั้นมีค่า อย่าชักช้ารอต่อไป
เพื่อนหญิงจงก้าวไป มุ่งมั่นใจใฝ่ศึกษา
ค้นคว้าหาวิชา ให้ก้าวหน้าก่อนจะสาย
พวกเรามาเร็วมา อย่าอยู่อย่างไร้ความหมาย
อย่าทนนิ่งดูดาย ปล่อยให้ชายเขาดูหมิ่น
(หญิงดี
สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย, กรวลี วรัณกร, หน้า72)
-สตรีเหมือนดอกไม้ที่ชายหมายดอมดม
อันตัวนางเปรียบอย่างปทุเมศ
พึ่งประเวศผุดพ้นชลสาย
หอมผกาเกสรขจรจาย
มิได้วายภุมรินถวิลปอง
ครั้นได้ชมสมจิตพิศวาส
ก็นิราศแรมจรัลผันผยอง
ไม่อยู่เฝ้าเคล้ารสเที่ยวจดลอง
ดูทำนองใจชายก็คล้ายกัน
(สุภาษิตสอนหญิง
สุนทรภู่, เอกรัตน์ อุดมพร, หน้า32)
จากตัวอย่างเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้
ผู้ชายเป็นแมลงที่มาตอมเมื่อดูดน้ำหวานจากดอกไม้สมใจก็จะบินหนีไป
คือสอนให้ระวังผู้ชายที่ไม่ดีเข้ามาหลอกนั้นเอง
-ไม่เห็นหญิงเป็นเช่นมาลี
ที่เก็บไว้ในบ้าน
หญิงไทยในวันนี้ ควรจะมีชีวิตใหม่
ให้สตรีนี้เป็นไท อย่าปล่อยให้ใครย่ำยี้
เคียงบ่าเคียงไหล่ชาย สร้างความหมายชีวิตหญิงนี้
ไม่เห็นเป็นเช่นมาลี ที่เก็บเอาไว้ในบ้าน
(หญิงดี
สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย, กรวลี วรัณกร, หน้า72)
เป็นการเปรียบเทียบว่าผู้หญิงไม่ใช่ดอกไม้ที่จะเก็บเอาไว้ประดับสวยๆในบ้าน
สุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่จะยังคงมีภาพของหญิงที่เป็นผู้ถูกกระทำ
หรือต้องพึ่งพาผู้ชาย ในขณะที่สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยจะมีการสอนให้ผู้หญิงเห็นคุณค่าในตัวเอง
ศึกษาเล่าเรียนให้เทียมชายไม่ได้ตกเป็นทาสของผู้ชาย และเช่นเดียวกันในวรรณกรรมใบไม้ที่หายไปโดย
จิระนันท์ พิตรปรีชา ในบทอหังการของดอกไม้(2516) ผู้แต่งได้สร้างคุณค่าใหม่ให้ผู้หญิง
โดยมีคำกล่าวว่ายุคของคุณจิระนันท์คือยุค เปลี่ยนมือที่อ่อนนิ่มเป็นลิ่มเหล็ก ตัวอย่างคำประพันธ์ในบทอหังการของดอกไม้
มั่นยึดถือในแก่นสาร
เกลียวเอ็นจักเป็นงาน
มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
-สตรีมีสองตีน
ไว้ป่ายปีนความใฝ่ฝัน
ยืดหยัดอยู่ร่วมกัน
มิหมายมั่นกินแรงใคร
-สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน
-สตรีมีดวงใจ
เป็นดวงไฟไม่ผันผวน
สร้างสมพลังมวล
ด้วยเธอล้วนก็คือคน
-สตรีมีชีวิต
ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล
คุณค่าเสรีชน
มิใช่ปรนกามารมณ์
-ดอกไม้มีหนามแหลม
มิใช่แย้มคอยคนชม
บานไว้เพื่อสะสม
ความอุดมแห่งแผ่นดิน
(ใบไม้ที่หายไป, จิระนันท์ พิตรปรีชา, หน้า30)
สำหรับคุณจิรนันท์เธอเป็นหนึ่งในผู้นำขบวนการนิสิตนักศึกษาและหนุ่มสาวรุ่นใหม่ยุค
14 ตุลาคม เธอเปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้หญิงและหนุ่มสาว เป็นกลุ่มคนที่เข้าคัดค้านต้านความอยุติธรรมในแผ่นดินอย่างทรนงองอาจ
จึงไม่แปลกใจที่เธอจะสามารถเขียนถ่ายทอดความเป็นผู้หญิงยุคใหม่ออกมาได้อย่างในตัวอย่าง
จากตัวอย่างที่กล่าวเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้เช่นกัน แต่ไม่ได้บานไว้รอเหล่าแมลงมาต่อมหรือมีไว้บำเรอผู้ชาย เหมือนอย่างสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ และยังย่ำอีกว่าผู้หญิงไม่ใช่แค่คนอ่อนแอที่ต้องคอยพึ่งพาผู้ชาย
จากตัวอย่างที่กล่าวเปรียบผู้หญิงเป็นดอกไม้เช่นกัน แต่ไม่ได้บานไว้รอเหล่าแมลงมาต่อมหรือมีไว้บำเรอผู้ชาย เหมือนอย่างสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ และยังย่ำอีกว่าผู้หญิงไม่ใช่แค่คนอ่อนแอที่ต้องคอยพึ่งพาผู้ชาย
สิ่งน่าสังเกตอีกอย่างก็คือ
คือสุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยมีการสอนลักษณะที่เอาผู้ชายเป็นเป้าหมายในการประพฤติตัวดีของผู้หญิงมากกว่าของสุนทรภู่
เช่นมีบท หญิงดีไม่มีเงินทองยังต้องใจชาย , หญิงดีมีแต่ชายหมายปองรัก,
หญิงอยากมีคู่จงรู้จักทำกิริยาให้น่ารัก,สตรีดีพร้อมชายย่อมรัก,ชายมอบรักแท้แต่หญิงดี,ชายรักหญิงมีน้ำใจและไมรตรี
เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเพราะสมัยนี้ผู้หญิงเป็นฝ่ายมองหาผู้ชายที่จะมาเป็นคู่(ผู้ชายเหลือน้อย)
จึงต้องใช้ผู้ชายเป็นเป้าหมายเพื่อจูงใจให้ประพฤติตัวดีก็เป็นได้
สิ่งที่แต่งต่างอย่างสุดท้ายก็คือ
ความงามทางภาษา ถ้อยคำที่ใช้ของสุนทรภู่มีการใช้ภาษาที่สละสลวยสวยกว่าสุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-อย่าชิงสุกก่อนห่าม
เมื่อสุกงอมหอมหวานจึงควรหล่น
อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี
เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์
(สุภาษิตสอนหญิง
สุนทรภู่, เอกรัตน์ อุดมพร, หน้า77)
-อย่าชิงสุกก่อนห่าม
เกิดเป็นหญิงถ้าชิงสุกก่อนห่าม
ชายประณามหยามเหยียดรังเกียจนักหนา
ไม่มีใครหวังให้เป็นภรรยา
โปรดจงรอเวลาอันสมควร
(หญิงดี
สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัย, กรวลี
วรัณกร, หน้า67)
ทั้งสองตัวอย่างมีความหมายในเชิงเดียวกันแต่ของสุนภรภู่จะมีความไพเราะและความคิดสร้างสรรค์มากกว่า
ในขณะที่สุภาษิตสอนหญิงร่วมสมัยเป็นเพียงการสอนแบบตรงๆ เข้าใจง่าย และ ยังคงมี ผู้ชาย
มาเป็นแรงจูงใจคือหากทำตัวไม่ดีชิงสุกก่อนห่ามผู้ชายก็จะประนามหยามเหยียดได้
เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทัศนคติของคนเราก็เปลี่ยนสมัยก่อนผู้หญิงเป็นรองและต้องอ่อนให้ผู้ชายในทุกๆด้านแต่ปัจจุบันก็มีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น
ดิฉันรู้สึกโชคดีจริงๆที่ได้เกิดมาในสมัยปัจจุบัน
แต่ก็เหมือนได้อย่างเสียอย่างปัจจุบันหญิงชายมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การมีหลายผัวหลายเมียก็ถือเป็นเรื่องไม่งามเหมือนกันทั้งชายหญิง แต่ก็แลกมาด้วยการหายไปของความละเอียดละออบางอย่าง ทั้งกิริยาการดำเนินชีวิตของผู้หญิงสมัยนี้ก็ไม่ได้นอบน้อมเหมือนสมัยก่อน สามารถเดินเหินพูดจาแข็งกระด้างได้อย่างชาย อีกทั้งภาษาที่ใช้ในการแต่งวรรณกรรมก็นับว่ามีความซับซ้อนสละสลวยน้อยลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจที่ง่ายขึ้น
แต่ก็เหมือนได้อย่างเสียอย่างปัจจุบันหญิงชายมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การมีหลายผัวหลายเมียก็ถือเป็นเรื่องไม่งามเหมือนกันทั้งชายหญิง แต่ก็แลกมาด้วยการหายไปของความละเอียดละออบางอย่าง ทั้งกิริยาการดำเนินชีวิตของผู้หญิงสมัยนี้ก็ไม่ได้นอบน้อมเหมือนสมัยก่อน สามารถเดินเหินพูดจาแข็งกระด้างได้อย่างชาย อีกทั้งภาษาที่ใช้ในการแต่งวรรณกรรมก็นับว่ามีความซับซ้อนสละสลวยน้อยลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจที่ง่ายขึ้น
หากเราสามารถเลือกหยิบแต่ข้อดีของวรรณกรรมในแต่ละยุคสมัยทั้งในเรื่องค่านิยมวัฒนธรรมต่างๆและลักษณะการแต่งภาษาที่ใช้มาปรับปรุงรวมเข้าไว้ด้วยกันได้ก็คงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย
บรรณานุกรม
กรวลี วรัณกร. (2525). หญิงดี
สุภาษิตสอนหญิง. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
ความรู้ที่ได้รับจากเรื่องขุนช้างขุนแผน. สืบค้นเมื่อวันที่
22 พ.ค. 59,จาก http://kanruethai.blogspot.com
/2012/11/blog-post_3263.html
/2012/11/blog-post_3263.html
จิระนันท์
พิตรปรีชา. (2555). ใบไม้ที่หายไป. กรุงเทพฯ: แพรว.
ณฏฐวรรธน์. ค่านิยมเรื่องการปฏิบัติตนต่อสามีของหญิงไทยในยุคสังคมดั้งเดิม. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ค.
59,จากhttps://www.gotoknow.org/posts/425472
59,จากhttps://www.gotoknow.org/posts/425472
รื่นฤทัย
สัจจพันธุ์. (2544). เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน. กรุงเทพฯ: ธารปัญญา.
รู้หรือไม่
มีเมียกี่คน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พ.ค.
59,จาก http://www.dek-d.com/board/view/1404040/
โดย เจลดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น