วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

โตไปพรอมๆกับอลิซ (ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์) --- Alice’s Adventure in Wonderland



Alice’s Adventure (to grow up) in Wonderland



Alice’s Adventure in Wonderland หรือ อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีชื่อเสียงของอังกฤษและได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมคลาสสิกเล่มหนึ่งของโลก แต่งโดยลูอิส คาร์รอล แปลและเรียบเรียงโดย ระวี ภาวิไล แปลบทร้อยกรองโดย วิญญาณ์ ภาวิไล อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์เป็นวรรณกรรมที่ยังคงได้รับการวิกษ์วิจารณ์กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บ้างก็ว่าเป็นวรรณกรรมNon sense เป็นการเล่นกับคำและภาษาไม่ได้สื่อความหมายอะไร แต่บ้างก็ว่าวรรณกรรมเรื่องนี่แฝงเรื่องราวของเด็กที่กำลังจะโตเป็นผู้ใหญ่ทางด้านวุฒิภาวะ ดังนั้นนอกจากจะวรรณกรรมเรื่องที่จะเปี่ยมด้วยจินตนาการและเข้าใจโลกแห่งความคิดฝันของเด็กแล้ว วรรณกรรมเรื่องนี้ยังแฝงปรัชญาชีวิตที่ลึกซึ้ง รวมทั้งคุณค่าสอนใจมากมาย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ เป็นวรรรณกรรมที่เป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
เสน่ห์ของอลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ คือ การเสียดสี เล่นกับคำ และการออกแบบตัวละครในลักษณะที่ดูกลับตาลปัตรผิดไปจากภาพจำของผู้คน เช่น การที่ผู้ใหญ่ทำตัวไม่สมกับวัย และอลิซที่เป็นเด็กกลับดูมีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่า

อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์คือเรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งมีชื่อว่า อลิซ วันหนี่งขณะที่เธอกำลังเล่นอยู่ในสวนกับพี่สาว จู่ๆ เธอก็เห็นกระต่ายขาวมีดวงตาสีชมพูตัวหนึ่งวิ่งผ่านมาด้วยท่าทางรีบร้อน มันพูดว่า ตายจริง ตายจริง ฉันไปสายแน่ๆ พร้อมควักนาฬิกาจากกระเป๋าเสื้อขึ้นดูเวลา ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอลิซจึงวิ่งตามมันไปและกระโดดลงไปในโพรงของกระต่าย การกระโดดครั้งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยสุดเพี้ยน เธอได้เจอะเจอเรื่องราวประหลาดและไร้เหตุผลมากมาย ทั้งเหล่าสัตว์พูดได้ ผู้คนที่พิลึก ทุกอย่างดูแปลกใหม่ไปหมด เธอต้องเอาตัวรอดจากสถานาการณ์ต่างๆให้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มันก็เป็นเพียงความฝันที่เธอเผลอหลับในสวนนั่นเอง

อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ สะท้อนความคาดหวังของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก หวังให้เด็กปฏิบัติตามอย่างที่ตนต้องการ ชอบเด็กที่เชื่อฟัง อยู่ในกรอบ และในทางตรงกันข้ามไม่ชอบเด็กที่ไม่ทำตามคำสั่ง เด็กเหล่านั้นจะถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ ไม่มีมารยาท ฯลฯ และที่น่าประหลาดใจคือนิสัยหลุดโลกของตัวละครผู้ใหญ่ทั้งหมดในวรรณกรรมเรื่องนี้ สามารถพบเห็นได้ในโลกความเป็นจริงเพราะมันคือการล้อเลียนนิสัยจริงๆของผู้ใหญ่ทั่วไปเพียงแต่ทำให้เด่นชัดขึ้น ในขณะที่พวกพวกผู้ใหญ่ชี้นิ้วสั่งให้เด็กทำนู้นนี้ตามแต่ใจ พวกเขาจะรู้ตัวบ้างไหมว่าบางครั้งพวกเขาก็ทำตัวไม่ต่างจากเด็กๆเลย ผู้ใหญ่มักจะรู้สึกว่าการมีอายุมากกว่าทำให้เขามีอำนาจ และสามารถสั่งหรือจัดการกับชีวิตของคนที่เด็กกว่าได้โดยไม่คิดว่าสิ่งที่กระทำเป็นการเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ ตีกรอบ และคุกคามตัวตนของเด็ก จะเห็นได้จากหลายๆตอนที่จะมีการสั่งให้อลิซทำนั่นทำนี่ ดังที่จะเห็นในตัวอย่างต่อไปนี้เช่น ตอนที่เจ้าหมวกเจอกับอลิซ คำแรกที่เจ้าหมวกพูดกับอลิซคือ ผมเธอยาวแล้วควรตัดเสียที (อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า82
เหมือนกับพวกผู้ใหญ่ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการชีวิตของเด็กในทุกๆด้าน เวลาเห็นอะไรที่ไม่ชอบในตัวเด็กก็จะตำหนิหรือสั่งให้เปลี่ยนแปลงทันที ซึ่งอลิซตอบกลับเจ้าหมวกว่า เธอไม่ควรกล่าวถึงร่างกายของคนอื่น...มันเป็นมรรยาททรามมาก (อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า82) คำพูดของอลิซคือการสวนกลับผู้ใหญ่ที่ชอบยุ่งกับชีวิตของเด็กๆโดยไม่รู้ตัว

ผู้ใหญ่ในอลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์มีลักษณะไม่เข้าเรื่อง ไม่มีเหตุผล เอาแต่ใจจึงทำให้ไม่น่าเชื่อฟัง ซึ่งแสดงออกมาทั้งในรูปแบบของคำพูด ความคิด หรือการแต่งกาย ทำให้เกิดคำถามว่า เด็กจำเป็นต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่เสมอไปด้วยหรือ เพราะไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่ทุกคนจะคิดในสิ่งที่ดีและถูกต้องเสมอ ดังที่จะเห็นในตัวอย่างต่อไปนี้ มหาดเล็กเป็นอีกหนึ่งตัวละครผู้ใหญ่ที่มีความคิดประหลาด และไม่สามารถให้คำแนะนำหรือช่วยเหลืออลิซได้ แสดงให้เห็นว่าความคิดของผู้ใหญ่ก็ไม่ได้เข้าท่าเสมอไป ดังที่จะเห็นได้จากข้อความต่อไปนี้
เจ้ามหาดเล็กหัวเป็นปลาพูดกับอลิซที่พยายามจะเข้าไปในบ้านของคุณนาย
อลิซเดินเข้าไปเคาะประตูอย่างเกรงกลัว
ไปเคาะทำไม ไม่มีประโยชน์ เจ้ามหาดเล็กว่า
... ถ้าอย่างนั้น ฉันจะเข้าไปข้างในได้อย่างไรล่ะอลิซถาม
เจ้ามหาดเล็กพูดต่อไปโดยไม่มองหน้าเธอ
ถ้าหากว่ามีประตูขวางอยู่ระหว่างเรา เธอก็น่าจะเคาะ
เป็นต้นว่าเธออยู่ข้างในเธอก็ควรจะเคาะ
 ฉันจะได้เปิดให้เธอออกมาเข้าใจไหม
(อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า71)
สุดท้ายแล้วอลิซก็ไม่ได้รับคำตอบจากมหาดเล็กว่าเธอควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้เข้าไปในบ้าน เธอจึงตัดสินใจเลิกเคาะประตูแล้วเปิดประตูเดินเข้าไป คำพูดของมหาดเล็กแสดงให้เห็นถึงความคิดที่ไร้สาระของผู้ใหญ่ ที่ผลักดันให้เด็กต้องหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
พระราชินีโพแดง เป็นตัวละครผู้ใหญ่ที่ดูไม่เหมาะจะเป็นผู้ใหญ่มากที่สุดโดยเฉพาะกับตำแหน่งพระราชินี ที่ควรจะมีเหตุมีผล ยุติธรรมและมีเมตตา แต่พระราชินีกับมีลักษณะนิสัยแตกต่างกับสิ่งที่ควรจะเป็นทั้งหมด ทั้งเอาแต่ใจ อารมณ์ร้อน ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา ตัดสินใจรวดเร็ว ใช้อำนาจในทางที่ผิด คำที่พระราชินีพูดบ่อยที่สุดคือ เอามันไปตัดหัว
ในเกมโครเกต เกมที่อลิซไม่มีทางชนะ เพราะประตูจะวิ่งตามลูกที่ราชินีตีเสมอๆ ไม่มีความยุทติธรรมสำหรับเด็กอย่างอลิซที่นี้ เกมนี่จึงเปรียบเหมือนเวลาที่เด็กๆไปอยู่ในเกมของผู้ใหญ่ไม่มีทางที่เด็กจะชนะได้ เพราะผลของการตัดสินมันได้ขึ้นอยู่กับใจผู้ใหญ่เหล่านั้นแล้วอีกทั้งราชินียังมีความเชื่อที่ว่า พิพากษาก่อนแล้วจึงพิจารณา (อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า141) คือลงโทษก่อนแล้วค่อยฟังความนั้นเองก็เปรียบได้กับผู้ใหญ่ที่มักไม่ฟังเหตุผลของเด็กและมักจะทำโทษเด็กก่อนที่เด็กจะได้อธิบาย

ในอลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ยังสะท้อนสังคมของผู้ใหญ่ผ่านมุมมองของเด็กที่เห็นว่า สังคมของผู้ใหญ่ก็คือwonderland สวนที่สวยงามมีระเบียบเรียบร้อย เด็กๆต่างอยากจะเข้าไปเพราะเด็กๆทุกคนล้วนอยากโตเป็นผู้ใหญ่ อลิซเองก็พยายามอย่างมากเพื่อให้ได้เข้าไปในwonderland อลิซต้องดูเปลี่ยนขนาดตัวทั้งหดและขยายหลายรอบเพื่อที่จะได้เข้าไปยังWonderlandได้ตีความหมายได้ว่าการจะโตเป็นผู้ใหญ่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าเราจะโตเราก็ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งมันก็ไม่ง่ายเลย เด็กหลายๆคนมักเกิดความสับสนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น



ดิฉันตีความว่าอลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์สื่อสารเรื่องนี่ผ่านฉากดังต่อไปนี้ อลิซเจอกับหนอนผีเสื้อผู้สูบมอระกู่ผู้ที่นั่งอยู่บนเห็ดวิเศษ
 คำถามแรกที่เจ้าหนอนถามเมื่อเจออลิซ คือ เจ้าเป็นใคร แม้จะเป็นคำถามง่ายๆ แต่อลิซก็ไม่สามาถตอบได้เพราะเธอไม่มันใจว่าเธอเปลี่ยนไปเป็นคนอื่นแล้วหรือเปล่า เธอรู้สึกว่าเธอเปลี่ยนไปหลายหนมาก เปรียบได้กับช่วงเวลาที่เด็กกำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่เด็กๆต้องค้นหาตัวตนของตัวเอง และอลิซก็ได้พูดหนอนผีเสื้อว่า แต่ถ้ามื่อใดเธอกลายเป็นตัวด้วง ซึ่งเธอก็คงต้องกลายเป็นเข้าสักวัน แล้วก็กลายเป็นผีเสื้อไป ฉันคิดว่าตอนนั้นเธอคงจะรู้สึกพิลึกๆบ้าง” “ นิดเดียวก็คงไม่เป็นไรเจ้าหนอนตอบ (อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์, คาร์รอล, ระวี ภาวิไล, หน้า58) จากบทสนทนาตรงี้สามารถตีคามได้ว่า หนอนผีเสื้อกำลังบอกว่าการเปลี่ยนแปลงมันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ต้องเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลที่จะรู้สึกพิลึกๆไปบ้าง
และนอกจากตัวตนที่เธอจะต้องค้นหาแล้วนั้นการจะเป็นผู้ใหญ่ อลิซจะต้องเลือกทางเดินด้วยตัวเธอเอง เห็นได้จากเหตุการณ์ต่อไปนี้
อลิซเข้าไปถามทางกับแมวเซไซร์   
ช่วยบอกฉันหน่อยได้ไหมว่า ฉันควรจะทางไหน
นั่นแล้วแต่ว่าเธออยากจะไปไหนเจ้าแมวพูด
ฉันไม่วิตกว่าจะไปถึงไหนอลิซพูด ถ้ายังงั้นก็
ไม่แปลกว่าเธอจะไปทางไหนเจ้าแมวพูด ขอให้
   ฉันไปถึงที่ไหนสักแห่งก็แล้วกัน อลิซพูดต่อไป
เพื่อเป็นคำอธิบาย อ๋อ เธอต้องถึงแน่ๆ เจ้าแมว
ตอบถ้าเธอเดินไปนานพอ
(อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า77-78)
จากประโยคคำแนะนำของแมวเซไซร์อาจะฟังดูเหมือนมันกำลังพูดกวนประสาทอลิซ แต่หากมองอีกมุม การถามเส้นทางของอลิซก็เปรียบเทียบได้ถามเจ้าแมวว่าตั้งเป้าหมายในชีวิตของเธอคืออะไร เจ้าแมวจึงตอบว่าก็แล้วเธออยากไปไหนละเพราะหากเราไม่ทราบว่าเป้าหมายของเราคืออะไร การเดินทางของเราก็จะสับสนไร้ทิศทาง ตอนเป็นเด็กๆเวลามีใครถามว่าโตขึ้นอยากทำอาชีพอะไรเด็กหลายคนก็ยังไม่สารถตอบคำถามได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วคนกำหนดทางเดินชีวิตของเราก็คือตัวเราเอง(เหมือนอลิซที่สุดท้ายก็เลือกเองว่าจะไปทางไหน) ประโยคที่ว่า อ๋อ เธอต้องถึงแน่ๆ...ถ้าเธอเดินไปนานพอหมายถึงเราจะต้องไปถึงเป้าหมายแน่ๆถ้าเรามีความพยายามและไม่ถอดใจไปซะก่อน

เมื่ออลิซได้เข้ามาสัมผัสกับWonderlandจริงๆแล้ว เธอกลับพบว่ามันไม่ได้สวยงามหรือมีระเบียบระบบอย่างที่คิดไว้ เพราะบางครั้งพวกผู้ใหญ่ก็ไม่ได้มีเหตุผลและยังทำอะไรที่งี่เง่าไม่ต่างจากเด็กๆเลย เช่น เจ้าหมวกสวมหมวกที่ตัวเองทำไว้ขายแถมมีป้ายราคาแปะไว้ตลอดเวลา เจ้าหมวก กระต่ายมีนาและเจ้ากระแตนั่งกินน้ำชาอยู่ตลอดเพียงเพราะนาฬิกาหยุดเดินที่เวลาน้ำชา การตัดสินคดีความขนมถาดหายที่ไม่มีความยุติธรรม ดังนั้น หากผู้ใหญ่มองว่าสิ่งที่เด็กคิด พูด กระทำเป็นเรื่องไร้สาระ ในอลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ก็สื่อให้เห็นว่าในทางกลับกัน เด็กก็มองว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่ คิด พูด กระทำก็เป็นเรื่องไร้สาระเช่นกัน แบบนี่แสดงว่าเราไม่ควรเชื่อฟังผู้ใหญ่อย่างนั้นหรือ คำตอบคือไม่ใช่ เรายังคงต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่หากคำสั่งสอนเหล่านั้นมีประโยชน์กับตัวเราแต่หากสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องไร้สาระที่ไม่น่าปฏิบัติตาม อลิซก็ได้บอกวิธีปฏิบัติแล้วว่าเราควรทำอย่างไร เราสามารถเลือกที่ปฏิเสธ หรือพากตัวเองออกจากเหตุการณ์เพี้ยนๆที่พวกผู้ใหญ่ทำได้เช่นเดียวกับอลิซ ดังตอนจบในเรื่องอลิซถูกราชินีสั่งตัดหัวและราชาก็บัญญัติกฏว่าคนที่ตัวสูงอย่างเธอจะต้องถูกไล่ออกไป

  อลิซจึงตอบกลับไปว่า ใครจะกลัว...เป็นแค่ไพ่สำรับหนึ่งเท่านั้นเอง (อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์,คาร์รอล,ระวี ภาวิไล, หน้า141)แล้วเธอก็ตื่นขึ้นจากความฝัน  

สิ่งที่ทำให้อลิซไม่ได้ดูเป็นเด็กดื้อเด็กก้าวร้าวก็เมื่อสิ่งที่ตัวละครผู้ใหญ่ในเรื่องทำหรือสั่งให้อลิซทำ มันไม่เข้าท่าและพวกผู้ใหญ่ก็มีลักษณะเพี้ยน เป็นที่พึ่งไม่ได้ดังที่กล่าวมาทั้งหมดจึงทำให้การที่อลิซเลือกที่จะดื้อไม่ทำตามจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดและไม่ได้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าอลิซเป็นเด็กไม่ดี 

แต่การที่ผู้ใหญ่ในเรื่องไร้เหตุผลและไร้สาระพึ่งพาไม่ได้นั้น มันก็ทำให้อลิซเกิดการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเธอเองทำให้อลิซค่อยๆโตขึ้นในแง่วุฒิภาวะ การเข้าไปในwonderland จึงเหมือนเป็นการก้าวข้ามวัยเด็กไปสู่การโตขึ้นเพราะคนเราจะแสดงศักยภาพที่สูงที่สุดออกมาเมื่อพบว่าไม่มีที่พึ่งอีกต่อไปแล้ว ตอนเราเด็กๆเรามักจะขอให้ผู้ใหญ่ช่วยเหลือเสมอๆแต่การจะโตขึ้นได้คือเราต้องเริ่มพึ่งพาตัวเองให้ได้ แม้มันจะเป็นเพียงความฝันแต่เหตุการณ์ต่างๆที่อลิซได้เรียนรู้จากความฝันอันแสนอัศจรรย์ในครั้งนี้จะทำให้เธอคนที่ตื่นขึ้นแตกต่างจากเธอตอนก่อนหลับหลายเท่านักตอนนี่เธอกลายเป็นอลิที่พร้อมจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ 
เจดีย์ เจลดา


บรรณานุกรม

คาร์รอลล์, ลูอิส.(2543). อลิซ  ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์.  แปลจากAlice’s Adventure in Wonderland. แปลโดย ระวี ภาวิไล.กรุงเทพฯ: ดอก
             หญ้า.
ปีศาสความฝัน. Alice in Wonderland :อลิซในแดนมหัศจรรย์(พันลึก). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559,  
             จากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dream-devil&month=01-04-2010&group=1&
            amp;gblog=27
พี่อติน. วิจารณ์หนังสือ: การผจญภัยของอลิซในแดนมหัศจรรย์ อลิซผจญภัยในโลกกระจก และ ครั้งหนึ่งฉันนั้นคืออลิซ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 
             พ.ศ. 2559, จากhttp://www.dek-d.com/writer/39605/
lilith wong . { หนึ่งวันว่าง กับ : แดนมหัศจรรย์...อลิซ...กระจกเงา และนกโดโดผู้เดียวดาย }. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
             จากhttp://lilithwong.exteen.com/20120626/entry



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น