วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

The Happy Prince เจ้าชายแสนสุขกับความสุขที่แท้จริง

                                             
The Happy Prince หรือ เจ้าชายแสนสุข 
แต่งโดย ออสการ์ ไวลด์ แปลโดย อัจฉรา ประดิษฐ์ 

  เจ้าชายแสนสุข เป็นเรื่องราวของเจ้าชายพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งเจ้าชายยังมีชีวิตเขาไม่รู้จักกับคำว่า เศร้าหรือน้ำตา เพราะปราสาทที่เขาอาศัยอยู่นั้นไม่อนุญาติให้ความเศร้าโศกเข้าไปจึงทำให้เขามีความสุขตเรื่อยมาและถูกเรีกว่า เจ้าชายแสนสุข 
เมื่อเจ้าชายเสียชีวิตลง มีการสร้างรูปปั้นเจ้าชายขึ้นและตั้งไว้บนขาสูง รูปปั้นของเจ้าชายแสนสุขตัวเคลือบด้วยทองคำ นัยต์ตาทำจากหินแซฟไฟร์สีฟ้าและถือดาบที่ประดับด้วยเม็ดทับทิมสีแดง รูปปั้นเจ้าชายแสนสุขที่มีความสง่างามเป็นความหวังที่อยู่ไกลเกินเอื้อมของประชาชนผู้ยากไร้ในเมืองนี้ พวกเขาชื่นชมรูปปั้นเพื่อให้รู้สึกว่าโลกนี่ยังมีคนที่มีความสุขจริงๆอยู่และก้มหน้าก้มตารับชะตากรรมที่โหดร้ายของตัวต่อไป จากบนนี้เจ้าชายจึงได้เห็นความเศร้า ความทุกข์ยากของประชาชาน เจ้าชายทุกข์ใจมากจนต้องหลั่งน้ำตา  
เจ้าชายจึงขอร้องนกนางแอ่นตัวหนึ่งให้ช่วยเลาะเม็ดทับทิมที่ด้ามดาบ ควักลูกตาหินแซฟไฟร์ และลอกผิวทองคำของตนไปมอบให้แก่ประชาชนเหล่านั้น เจ้าชายและนกนางแอ่นอยู่ช่วยประชานชน จนเจ้าชายหมดความงามและสุดท้ายนกนางแอ่นก็ทนความหนาวไม่ไหวและตายลง
 การเสียสละของทั้งคู่ไม่ได้รับการยกย่องหรือมองเห็นความดีจากประชานชน เมื่อหมดสวยก็หมดค่า นายกสั่งหลอมรูปปั้นเจ้าชายแสนสุขและคิดจะสร้างรูปปั้นของตนขึ้นแทน แต่สิ่งที่ไม่ถูกหลอมไปกับตัวรูปปั้นของเจ้าชายก็คือหัวใจตะกั่วของเจ้าชายนั่นเอง
พระเจ้าที่อยู่บนสวรรค์ทรงสั่งเทวดาให้ไปนำของสองสิ่งที่มีค่าที่สุดของเมืองนี่มาถวายและสิ่งที่เทวดานำมาถวายก็คือ  ซากนกนางแอ่น และหัวใจตะกั่วนั่นเอง
 

ตอนที่เจ้าชายยังมีหัวใจของมนุษย์ มีเลือดเนื้อ เจ้าชายไม่เคยรับรู้เลยว่าคนภายนอกปราสาทอยู่กันอย่างยากลำบากแค่ไหน เจ้าชายมีความสุขมาโดยตลอดจนเมื่อวันที่เจ้าชายเสียชีวิตลง และกลายเป็นเพียงรูปปั้นมีหัวใจที่ทำจากตะกั่วไร้ค่าแต่กลับได้รับรู้ถึงความททุข์ของคนที่จนกว่า เจ้าชายจึงเริ่มรู้สึกเศร้า
 เมื่อเทียบรูปปั้นเจ้าชายกับมนุษย์ผู้มีเลือดเนื้อแต่ไร้จิตใจก็ทำให้เรารู้ถึงนิสัยของมนุษย์มนุษย์เรามักจะเห็นแก่ความสบายของตน และเพิกฉยกับปัญหาของผู้อื่น ดั่งเช่นตอนที่สาวงามคนนึงพูดถึงช่างปักผ้ายากจนว่า ข้าสั่งปักรูปดอกแพชชั่นบนชุด แต่ยายช่างปักผ้าขี้เกียจยังกับอะไร (เจ้าชายแสนสุข, ออสการ์ ไวลด์, อัจฉรา ประดิษฐ์, หน้า3)ซึ่งความจริงแล้วช่างปักผ้าไม่ได้ขี้เกียจเลย เธอหลับเพราะเหนื่อยมาก มือเธอก็โดนเข็มถิ่มจนระบม ลูกชายของเธอก็นอนป่วยเพราะพิษไข้ หรือ 

  นายกเทศมนตรี เห็นได้จากข้อความต่อไปนี้เขางามหมดจดเหมือนเครื่องวัดอากาศบนหลังคาบ้าน (เจ้าชายแสนสุข, ออสการ์ ไวลด์, อัจฉรา ประดิษฐ์, หน้า1 )นายกพูดเพราะอยากให้คนอื่นชื่นชมว่าตัวเองมีรสนิยมทางศิลปะที่ดี ห่วงว่าคนจะมองตนอย่างไร 
               เมื่อรูปปั้นเจ้าชายแสนสุขที่หมดความงามแล้ว นายกกลับกล่าวว่า จะว่าไป เขาดูดีกว่าขอทานแค่นิดเดียว (เจ้าชายแสนสุข, ออสการ์ ไวลด์, อัจฉรา ประดิษฐ์, หน้า3)ก็สะท้อนว่าคนเรามักมองอะไรแต่เปลือกภายนอก ไม่ได้มองถึงคุณงามควมดีจริงๆภายใน

 
สองสิ่งที่มีค่าในเมืองนี่กลับไม่ใช่ปราสาทที่มีแต่ความสุขของเจ้าชาย ไม่ใช่งานเต้นรำ ไม่ใช่ชุดราตรีปักลายดอกแพชชั่น แต่เป็นซากนกตัวหนึ่ง กับ ตะกั่วก้อนหนึ่งเท่านั้นได้รู้แบบนี่ก็รู้สึกเศร้าสลดไม่น้อย สิ่งนี่แสดงให้เห็นว่าของมีค่าต่างๆ ล้วนด้อยค่าเมื่อเทียบกับจิตใจที่คิดดีทำดี และอีกหนึ่งสิ่งที่เราจะได้รับเมื่อเราทำความดีคือความรู้สึกสุขในใจ ดั่งเช่นตอนที่นกนางแอ่นคาบเอาเม็ดทับทิมไปให้แม่และลูกชาย เมื่อมันกลับมาหาเจ้าชายมันได้บอกกับเจ้าชายว่า แปลกจัง ตอนนี่ฆ่ารู้สึกอุ่น ทั้งๆที่อากาศยังหนาวอยู่เลยและเจ้าชายก็ตอบกลับว่า นั่นเพราะเจ้าทำความดี (เจ้าชายแสนสุข, ออสการ์ ไวลด์, อัจฉรา ประดิษฐ์, หน้า3) ควมสุขที่เจ้าชายได้รับตอนมีชีวิตคือความสุขกาย แต่ความสุขที่รูปปั้นเจ้าชายแสนสุขได้รับจากการเสียสละเพื่อให้ผู้อื่นคือควาสุขทางใจ

 เจ้าชายแสนสุข แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้นกนางแอ่นจะตายไปอย่างไร้ค่าส่วนรูปปั้นเจ้าชายก็ถูกหลอมละลายบนสวรรค์แต่พระเจ้าได้บอกไว้ว่า ในสวนสวรรค์ของเรา นกน้อยตัวนี้จะได้ขับขานอีกครั้ง และในมหานครทองคำของเรา เจ้าชายแสนสุขจะฟื้นขึ้นมายกย่องเราอีกครา (เจ้าชายแสนสุข, ออสการ์ ไวลด์, อัจฉรา ประดิษฐ์, หน้า6) แสดงให้เห็นว่าการทำความดีแม้ไม่มีใครเห็นค่าแต่คนทำดีย่อมรับสิ่งที่ดีตอบแทนเสมอ 

สิ่งที่วรรณกรรมเรื่องนี่สอนคือ...
เรื่องของการเสียสละเพื่อผู้อื่น  
การมองคนแต่เปลือกนอก 
และ การมีความสุขและการมีคุณค่าที่แท้จริงไม่ใช่เพราะสิ่งของนอกกายที่ประโคมทำให้เราดูดีมีค่ามีความสุข แต่คือการกระทำเขาเรา การอุทิศตน การเสียสละ เพื่อทำให้ผู้อื่นได้รู้จักกับคำว่า ..."ความสุข" 

                                                                                                เจดีย์ เจลดา
บรรณานุกรม
ไวลด์,  ออสการ์.  (มปป.). เจ้าชายแสนสุข.  แปลจาก The Happy Prince โดย อัจฉรา ประดิษฐ์.  (เอการประกอบการสอนวิชา วด.111). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

                                                                               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น