วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

winnie the pooh --- วินนี่ เดอร์ พูห์



วินนี่ เดอะ พูห์ เป็นเรี่องราวของ ผองเพื่อนที่อาศัยอยู่ใน ป่าร้อยเอเคอร์ 
ตัวละครทุกตัวมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เป็นที่จดจำ และไม่มีใครแทนที่ได้...
เราสามารถรู้ถึงอุปนิสัยของตัวละครแต่ละตัวได้ เพียงอ่านบทสนทนาเพราะแต่ละคำพูด สามารถบ่งบอกถึงความเป็นตัวละครนั้นได้อย่างดี 

 


ตัวละคร.....
คริสโตเฟอร์ โรบิน -- ตัวละครที่ดูจะมีสติมากที่สุด55555 เขามักจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเหมือนผู้นำ เหมือนKingของป่าร้อยเอเคอร์นี่
พูห์ -- (แทนด็กทั่วไปที่หาความสุขได้ง่ายๆ สุขเกิดจากการได้ผจญภัยเล่นสนุกกัยเพื่อนๆ สุขเกิดจากการกินของอร่อย(น้ำผึ้ง)) มันชอบคิดว่ามันเป็นหมีสมองเล็ก แต่ถึงมันจะไม่ได้เข้าใจไปซะทุกเรื่อง มันก็สามารถคิดวิธีแก้ไขปัญหาในแบบของมันซึ่งบ่อยครั้งที่มันได้ช่วยเหลือ เพื่อนๆ ความคิดบางอย่างของพูห์แม้แต่คริสโตเฟอร์เองก็ยังคิดไม่ได้ เช่นตอนไปช่วยพิกเลตที่บ้านกำลังจะจมน้ำ...

เรือ สมองพูห์>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

 

พิกเลต -- (เเทนเด็กตัวเล็ก) ขี้อาย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง แต่เมื่อมีเพื่อนอยู่เคียงข้างก็ทำให้มันมีความกล้าหาญขึ้นมาเพื่อนคนนั้นไม่ใช่ใครที่ไหน พูห์ นั้นเอง 
เมื่อเราคิดถึงพูห์ เรามักจะเห็นภาพ พิกเลตอยู่กับมันเสมอ ไม่เชื่อก็ลองนึกดู ...
พิกเลตเคยช่วยชีวิตพูห์และอาล์ว โดยอาศัยความตัวเล็กของมันให้เกิดประโยชน์...

อียอร์ -- คิดว่ามันน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า 5555 คำนิยามของมันคือ หดหู่ มันสามารถคิดแง่ลบได้กับทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี่








ความซึมเศร้าของมัน เหมือนมันจะเรียกร้องความสนใจในบางครั้ง ... แต่ในบางครั้งมันก็ดูเหมือนไม่ได้ต้องการ .............


มันไม่เคยไปเยี่ยมบ้านเพื่อนคนไหนเลย มันคิดว่ามันไม่เป็นที่ต้องการ แต่มันกลับได้ทุกสิ่งที่มันต้องการ เพื่อนมาหา เพื่อนหาของขวัญวันเกิดมาให้ เพื่อนชวนไปผจญภัย เพื่อนช่วยสร้างบ้านให้มัน เพื่อนๆห่วงความรู้สึกของมัน
กลายเป็นว่า
ทุกคนเป็นห่วงคนที่ไม่มีใครห่วงมากที่สุด.... 
ทุกคนสนใจ คนที่ไม่มีใครสนใจมากที่สุด...
ทุกคนนึกถึง คนที่ไม่มีใครนึกถึงมากที่สุด..... 
ก็แปลกดีนะ 
แล้วเด็กๆที่คิดว่าตัวเองมีชีวิตเหมือนอียอร์ ลองคิดใหม่ดูอีกทีดีกว่าไหม บางที สิ่งที่ทำให้เราไม่มีความสุข มันอาจจะเป็นแค่ สิ่งที่เราคิดขึ้นมาเองในหัวของเราก็ได้

 
แรบบิต -- หวงของ อวดรู้ และความอวดรู้ก็ทำให้มันแพ้ภัยตัวเอง

อาวล์ -- ทุกคนคิดว่าเขาคือผู้รอบรู้ทุกๆเรื่อง ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่! คล้ายๆแรบบิต อวดรู้เบาๆ




แคงกา -- ตัวละครหญิงเพียงตัวเดียว แม่ที่ดูแลลูก รู ได้อย่างดี และยังดูแลทิกเกอร์ด้วย
 รู -- เด็กไร้เดียงสา ซุกซน สร้างปัญหา ต้องมีคนคอยคุม





ทิกเกอร์ -- เป็นเสือ ควรดุร้าย แต่เปล่าเลยมันเป็นเสือที่ร่าเริง สนุกสนาน เด้งได้ทั้งวัน ไม่ว่าจะโดนแกล้งอย่างไรก็ไม่เคยโกรธ และมีนิสัยคล้ายๆรู คือ ซุกซนจนสร้างปัญหา เลยต้องมีแคงกามาคอยควบคุมดูแล 
 ป่าร้อยเอเคอร์...
 
ถ้าพูดถึงป่า เราอาจจะมีภาพจำว่า มันจะต้อง น่ากลัว อันตราย ลึกลับ มีบางสิ่งบางอย่างที่คอยทำร้ายเราอยู่ในป่า แต่... ป่าร้อยเอเคอร์ที่พูห์และผองเพื่อนอาศัยอยู่ไม่ได้มีลักษณะแบบนั้นเลย อาจเพราะ "ภาพประกอบ" ที่ดูสดใส อบอุ่น โล่งๆไม่ได้เป็นป่ารกทึบ ก็เป็นได้ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้อ่าน
แต่จริงๆแล้ว ป่าร้อยเอเคอร์ก็คือป่าทั่วไป โชคดีตรงที่ว่าตัวละครส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีความดุร้าย หรือ นิสัยแบบสัตว์จริง จะเห็นได้ชัดมากๆ ผ่านตัวละคร ทิกเกอร์ เสือที่เราทุกคนรู้ว่ามันคือผู้ล่า แล้วลองเปรียบเทียบกับ แรบบิต หรือ พิกเลต ซึ่งดูเป็นเหยื่อมากๆ แต่ก็ไม่ได้เกิดโศกโศกนาฏกรรมนองเลือดอะไรในวรรณกรรมเรื่องนี่... จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ป่าร้อยเอเคอร์น่าอยู่
 
แต่!!!!แม้ไม่มีอันตรายจากสิ่งมีชีวิตก็ยังคงมีความอันตรายจากธรรมชาติ หิมะตก น้ำท่วม ลมแรง หมอกลง และบ่อยครั้งที่ตัวละครต้องพบเจออุปสรรค์ให้แก้ไข....
หนึ่งสิ่งที่ทำให้ตัวละครรอดพ้นจากอันตรายหรือความยุ่งยากต่างๆไปได้ ก็คือ มิตรภาพ ระหว่างเพื่อนแต่ละคน
ดังนั้นสิ่งสุดท้ายที่ทำให้ป่าร้อยเอเคอร์ดูเป็นป่าที่ปลอดภัย ร่มรื่น น่าอยู่ ก็คือมิตรภาพของตัวละครที่ช่วยเหลือกันทำให้ไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อันตรายใดๆ พวกมันก็จะทำให้ปัญหาจากหนักก็กลายเป็นเบาได้ทุกๆครั้งไป...

 


วินนี่ เดอะ พูห์ ไม่ใช่วรรณกรรมสำหรับเด็กเท่านั้น แต่เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กในตัวทุกๆคน (คำพูดจากครูหญิง)
เราไม่สามารถหยุดยั้งกาลเวลาไม่ให้เดินต่อไปข้างหน้าได้ ฉะนั้นหยุดช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดไว้...แล้วเก็บไว้ในใจ (มีแต่วัยเด็กเท่านั้นที่เราจะสามารถสัมผัสได้ถึงความสุขที่แท้จริง)
เมื่อวันหนึ่งเรารู้สึกโหยหา อยากหวนนึกถึงมัน ก็แค่กลับเข้ามา อนุญาติให้ความเป็นเด็กในตัวได้ช่วยชะโลมจิตใจที่เหี่ยวแห้งให้กลับมีชีวิตอีกครั้ง ...



เจลดา เอกวรรณกรรมสำหรับเด็ก มศว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น